บทเรียน Elearning -- ครูสมร
ชีววิทยา ม.4 ชีววิทยา ม.5 ชีววิทยา ม.6 วิทยาศาสตร์ ม.3/1 (ชีวภาพ)
บทเรียน Elearning -- ครูชยพัทธ์
ฟิสิกส์ ม.3/1 งานและพลังงาน 1 งานและพลังงาน 2
สธ.เตือนภัย โควิดระดับ 4 ทั่วประเทศ | 22-02-65 | ห้องข่าวหัวเขียว
ชีววิทยา ม.4 ชีววิทยา ม.5 ชีววิทยา ม.6 วิทยาศาสตร์ ม.3/1 (ชีวภาพ)
ฟิสิกส์ ม.3/1 งานและพลังงาน 1 งานและพลังงาน 2
ข้อสอบแบบอัตนัยเป็นข้อสอบลักษณะเชิงบรรยายให้มีการ Discussion
เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความ
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ คิดว่าถูกหรือผิดเพราะอะไร
ซึ่งข้อสอบนั้นบางครั้งคำถามจะไม่ยาวมากแต่ก็สามารถตอบได้กันในสมุดได้
2-3 เล่ม ขึ้นอยู่กับการให้หลักการและเหตุผลของผู้ทำข้อสอบ
แต่บางครั้งผู้ออกข้อสอบก็อยากจะให้เขียนอย่างน้อยกี่คำๆ
สิ่งที่ผมพบส่วนใหญ่การที่จะให้ได้คำเยอะๆในการตอบคำถามก็มักจะใช้วิธีการลอกคำถามมาในเนื้อหาของคำตอบ
แต่ผมว่าจะเป็นการน่ารำคาญต่อผู้ตรวจเพราะันั่นคือคำถามที่ถามไปไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากให้เขียน
หลายๆข้อสอบจึงจะมีเขียนไว้ว่า
“ไม่ต้องลอกคำถามลงกระดาษคำตอบ”
การตอบข้อสอบลักษณะนี้ในส่วนตัวผมเองก็มีหลักการไม่ยากเท่าไหร่
อันดับแรกเลยต้องอ่านให้เข้าใจว่าข้อสอบถามอะไร
ถ้าถามว่าใช่หรือไม่ใช่ก็ให้ตอบตามคิดเราไปพร้อมเหตุผลอธิบายว่าทำไมเราถึงคิดอย่างั้น
โดยอาจจะยกตัวอย่างเหตุการณ์เทียบเคียงไปและสรุปผลในท้ายสุด
แต่ถ้าหากข้อสอบเป็นแนวของการถามแสดงความเห็น
ก็อาจจะต้องมองถึงคำจำกัดความของเนื้อหาแล้วแสดงการเปรียบเทียบในคำถามพร้อมๆกับการหาข้อดีข้อเสียในแต่ละอย่าง
ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนรวมไปถึงสรุปสาระสำคัญ
ข้อเสนอแนะก่อนตอบข้อสอบอัตนัย มีดังนี้
1. ก่อนตอบข้อสอบทุกครั้ง
จะต้องอ่านคำถามแล้วตีความคำถามนั้นให้กระจ่างว่า ถามเรื่องอะไร
มีกี่ประเด็น ลักษณะคำถามมุ่งให้อธิบาย แสดงความคิดเห็น
หรืออภิปราย
2. ระดมความรู้ ความคิด เหตุผล เพื่อตอบให้ตรงคำถาม
3. วางโครงเรื่อง
เพื่อจัดระเบียบเนื้อเรื่องเป็นขั้นตอน
เพื่อให้ครอบคลุมทุกประเด็นของคำถาม
4.
เรียบเรียงและจัดลำดับความคิดในแต่ละย่อหน้าให้เหมาะสม
5. ควรนำเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือประสบการณ์
ความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาประมวลกัน
เพื่อให้คำตอบนั้นมีความสมบูรณ์ที่สุด
6. การใช้ภาษา ในการตอบข้อสอบต้องใช้ภาษาแบบแผนหรือกึ่งแบบแผน
ไม่ควรใช้ภาษาปาก อักษรย่อหรือตัดคำ และต้องใช้คำที่สื่อความหมายตรง
สั้น กระชับ แต่ได้ใจความ
นอกจากนี้ในการตอบข้อสอบประเภทแสดงความคิดเห็นและอภิปราย
ควรใช้ภาษาโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดของผู้ตอบด้วย
7. ควรเขียนทวนคำถามเสียก่อน แล้วจึงตอบ
ยกเว้นการตอบข้อสอบที่มุ่งให้อภิปรายเป็นความเรียง
8. ควรเขียนด้วยปากกาใช้หมึกสีน้ำเงิน/สีดำ หรือดินสอสีเข้ม
เขียนลายมือที่อ่านง่าย ไม่ควรมีรอยขูด ลบ ขีดฆ่า
ถ้าจำเป็นก็ทำอย่างเรียบร้อย
9. คำนึงถึงเวลาที่ใช้สอบ ซึ่งมีจำกัด
ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมจะได้ตอบครบทุกข้อ
10. ควรตรวจทาน
ถึงแม้จะวางแผนการเขียนตอบอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม
แต่การตรวจทานจะช่วยให้เพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขข้อบกพร่องทั้งด้านเนื้อหา
และการใช้ภาษารวมทั้งตัวสะกดด้วย