โรงเรียนคาดหวังอะไรจากครูประจำชั้น

������������ระบบการให้การศึกษาของไทย� หรือประเทศอื่นก็ตาม�� เราแบ่งนักเรียนออกเป็นชั้นๆ เป็นห้องๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน� และการดูแลปกครอง� รวมทั้งทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยภาษาอังกฤษเรียกตรงๆ ว่า Classroom�� และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า�� Classmate� ซึ่งก็ได้ความหมายตรงกับความรู้สึกไทยๆทุกประการ
���������� �ชั้นเรียนเป็นระบบดูแลการปกครอง� หรือหน่วยเล็กที่สุดในระบบโรงเรียน� การบริหารโรงเรียนหรือองค์กรใดๆ ก็ตาม ระบบเล็กๆ นั้นมีความสำคัญมาก�� เพราะโรงเรียนย่อมประกอบขึ้นด้วยระบบเล็กๆจำนวนมาก� โรงเรียนจะดีหรือไม่ดี�� ขึ้นอยู่กับระบบเล็กๆ เหล่านี้� โรงเรียนจะดีไปไม่ได้� ถ้าระบบเล็กๆ ไม่ดี� ดั้งนั้น�� “ครูประจำชั้น” ซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการและบริหารหน่วยชั้นเรียน�� ย่อมมีความสำคัญมากต่อระบบโรงเรียนเป็นส่วนร่วม
������������ �หน้าที่ของโรงเรียนที่แท้จริงนั้นคือ� การพัฒนาเยาวชนหรือพัฒนาคน� คือทำให้เขามีความรู้ในทฤษฎีทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพ��� ให้เขาได้ฝึกงานอาชีพที่เขาถนัด� ให้เขาได้พัฒนาทักษะในวิชาหรือกิจกรรมที่เขาถนัดและความสนใจ�� ให้เขาได้มีคุณธรรม� เข้าใจและทราบซึ้งในหลักธรรมของศาสนา� มีนิสัยที่ดีงาม� มีค่านิยมที่เหมาะสม� และให้เขาได้พัฒนาบุคลิกภาพ�� มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีนิสัยที่ดี
���������� �เมื่อถามว่าโรงเรียนคาดหวังอะไรจากครูประจำชั้น�� คำตอบคือก็คือ�� คาดหวังให้ครูประจำชั้นช่วยพัฒนาเยาวชนกลุ่มหนึ่งจำนวน� 30-45 คน� ให้เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพที่ต้องการ� ให้ดีที่สุด�� โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนานิสัยและคุณธรรม

เกณฑ์มาตรฐานของชั้นเรียน

1.� ลักษณะทางกายภาพ
������������1.1� สภาพห้องที่ดี�� ได้แก่ประตู� หน้าต่าง� ฝาผนัง�� มีสภาพดีแข็งแรง� ไม่ชำรุด
������������1.2� กระดานพร้อมบอร์ด� (ถ้ามี )� มีสภาพดี
������������1.3 โต๊ะ� เก้าอี้� เป็นแบบด้วยกัน� มีสภาพที่แข็งแรงมั่นคง
������������1.4 โต๊ะครู เป็นโต๊ะพิเศษ 1 ตัว� หน้าห้อง ควรมีผ้าปูและมีการจัดตกแต่งพิเศษตามควร
������������1.5 ไฟฟ้า พอเพียง มีสภาพดี� ใช้งานได้� ไม่ชำรุด�� และไม่เป็นอันตราย

2.� อุปกรณ์ประกอบและแนวทางพัฒนา
��������������2.1 ห้องเรียนต้องมีสัญลักษณ์ของ 3 สถาบันของชาติ ได้แก่� ชาติ ศาสนา� พระมหากษัตริย์
��������������2.2 ห้องเรียนต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดครบพร้อมอยู่เสมอ�� ได้แก่� ไม้กวาด� ไม้ถู ที่ตักผง� ถังขยะประจำห้อง� และผ้าเช็ดถู
��������������2.3 มีป้ายตารางเวรทำความสะอาด
��������������2.4 มีป้ายทำเนียบกรรมการห้องเรียน
��������������2.5 มีป้ายแสดงสถิติประจำวัน� บริเวณหน้าห้องเรียน
��������������2.6 ทีป้ายบอกห้องเรียน
��������������2.7 มีการจัดบอร์ดประจำชั้น�� หมุนเวียนเปลี่ยนประจำวัน� เป็นรายละเอียดหรือเนื่องในโอกาสพิเศษ� หรือการจัดบอร์ดเชิงวิชาการ
��������������2.8 ฝาผนังอาจติดภาพเชิงวิชาการ�� ภาพทิวทัศน์�� หรือสุภาษิต�� คำพังเพยต่างๆ�� ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
��������������2.9 มีการตกแต่งทั่วไปอื่นๆ พอเหมาะพองาม

3.� มาตรการความเป็นระเบียบและความสะอาด
��������������3.1� โต๊ะเก้าอี้�� ในสภาพปกติ�� ให้จัดแบบโต๊ะเดี่ยว��� เป็นระเบียบเป็นแถว�� ตรงกันทั้งทางขวางและทางลึก
��������������3.2 ห้ามนักเรียนขีดเขียน ขูด� โต๊ะเก้าอี้
��������������3.3 ห้ามนักเรียนใส่กระดาษหรือสิ่งของอื่นๆ ในโต๊ะเรียน
��������������3.4 ห้ามนักเรียนทิ้งหนังสือสมุดไว้ในโต๊ะเรียน� ให้นำกลับบ้านทุกวัน
��������������3.5 ห้ามนักเรียนรับประทานอาหารในห้องเรียน
������������3.6 ห้ามนักเรียนวิ่งเล่นหรือส่งเสียงดังในห้องเรียน

�ตอนขั้นในการดำเนินการเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นครูประจำชั้น

1. ขอทะเบียนนักเรียนและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง�� เช่นตารางสอน� จากฝ่ายวิชาการ
2. เข้าพบนักเรียน�� แนะนำตัว� และให้นักเรียนแนะนำตัวทั่วไป
3. ดำเนินการเลือกหัวหน้าชั้น� รองหัวหน้าชั้น� และกรรมการอื่นๆ� ตามที่เห็นสมควร เช่น เลขานุการ
4. จัดเวรประจำวัน
5. ชี้แจงหน้าที่ของหัวหน้าชั้น�� รองหัวหน้าชั้น� กรรมการ� และเวรประจำวัน
6. วางระเบียบของห้องเรียน��������������

งานของครูประจำชั้น

1.�� เข้าพบนักเรียน� ในคาบโฮมรูม�� ดำเนินการเรื่องต่างๆดังนี้
��������������- สำรวจการมาโรงเรียนของนักเรียน� (ในกรณีนักเรียนไม่มาโรงเรียนเกิน 3 วัน� ให้แจ้งหัวหน้าระดับชั้น)
��������������- ตรวจการแต่งกาย� ผม� และความสะอาดของเครื่องแต่งกาย
��������������- ตรวจความสะอาดของร่างกาย� เช่น เล็บ�� ฟัน� และความสะอาดทั่วไป
��������������- ตรวจดูความเรียบร้อยและความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนเป็นครั้งคราว
��������������- ดูแลติดตามผลการปฏิบัติงานของเวรประจำวัน
��������������- ดูแลสภาพห้องทั่วไป
��������������- ให้การอบรม
��������������- ชี้แจงเรื่องที่โรงเรียนประกาศหรือขอความร่วมมือ
��������������- นัดหมาย
��������������- บันทึกสมุดรายงานโฮมรูม� เป็นปัจจุบัน
2. จัดทำเอกสารต่างๆ เช่น� ทะเบียนนักเรียน�� สมุดประจำชั้น�� เป็นต้น
3. ทำคะแนนสมุดรายงานนักเรียนเป็นปัจจุบัน
4. ประสานงานกับฝ่ายแนะแนว�� เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
5. เยี่ยมบ้านนักเรียนประจำปี� หรือกรณีที่นักเรียนมีปัญหา
6. การวางแผนและพัฒนาห้องเรียน
7. การสอนพิเศษ
8. การจัดกิจกรรมพิเศษในชั้นเรียน
9. สรุปรายงานการปฏิบัติงาน� ปัญหาและข้อเสนอแนะ� ตลอดปี� เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันศุกร์, 24 กุมภาพันธ์ 2012, 6:09PM