ใบงานที่ 1 เรื่องทัศนศิลป์
ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป
จึงเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุดในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
ส่วนประกอบต่างๆในงานศิลปะได้แก่ จุด พื้นผิว ซึงเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่างมาสร้างเป็นงานศิลปะได้เลย หรือนำหลายๆอย่างมาจัดรวมเป็นองค์ประกอบเดียวกันได้ นับตั้งแต่ รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว จึงเป็นวิธีการที่ง่ายและดีที่สุด เกิดจากจุดที่เรียงต่อกันในทางยาว หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นตรง (Straight Line) และให้ความหมาย ความรู้สึก รูปร่าง คือ พื้นที่ ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติ รูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์
หมายถึงความอ่อนแก่ของสี หรือแสงเงาที่นำมาใช้ในการเขียนภาพ น้ำหนัก ทำให้รูปทรงมีปริมาตร และให้ระยะแก่ภาพ
เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน แสง เมื่อส่อง กระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานศิลปะ สีจะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ และมีชีวิตชีวาแก่ผู้ที่ได้พบเห็น อีกทั้งยังให้ความรู้สึกต่าง ๆ ได้ด้วย สีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์เราเป็นอันมาก
และใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น ออก
ช่วยให้เกิดความงาม ความรู้สึก เพราะสีมีความหมายเฉพาะตัวของแต่ละสีอยู่
เช่น
ในวิถีชีวิตของเรา ทุกคนรู้จัก เคยเห็น เคยใช้สี และสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีขาว และสีอื่น ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก และเรียกชื่อสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมีพวกเรากี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง เพราะ เรายังขาดสื่อการเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นเอง ปัจจุบันนี้ เรายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของเราอยู่ ถ้าเรารู้จักหลักการเบื้องต้นของสี จะทำให้เราสามารถเขียน ระบาย หรือ เลือกประยุกต์ใช้สี เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการสาขานั้นๆ ดังนี้
(Blue)
สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 ดำ
3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ (Darkness) ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่าวขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลง ถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุด น้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้ เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำให้ เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดำ
เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่า ทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่า สีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ ตั้งแต่ขาว เทา ถึงดำ นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง
|
|
|
|
|
|
สีลดน้ำหนักลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint)
สีเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone)
|
|
|
สีเพิ่มน้ำหนักขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade)
7.บริเวณว่าง (Space)
ในงานทัศนศิลป์หรืองานออกแบบทั้งสองมิติและสามมิติ ที่ว่าง (space) เป็น
ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ผลงานเกิดความงาม ความน่าสนใจ โดยธรรมชาติแล้วที่ว่างเป็น
สิ่งที่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะเราไม่สามารถกำหนดที่ว่างให้เป็นรูปทรงได้เองด้วยตาเปล่า บทบาท
ของที่ว่างจะปรากฏก็ต่อเมื่อมีทัศนธาตุอื่นๆ มาแสดงหรือแทนที่ ทัศนศิลป์แต่ละประเภท
ใช้ที่ว่างต่างกันไปตามลักษณะของงาน จิตรกรรมใช้ที่ว่างที่เป็น 2 มิติ แต่อาจทำให้เกิดการ
ลวงตาเห็นเป็น 3 มิติได้ด้วยการนำทัศนธาตุต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน ประติมากรรมใช้
ที่ว่างจริงล้อมรอบผลงานและเจาะทะลุรูปทรงที่เป็น 3 มิติ สถาปัตยกรรมใช้ที่ว่างจริงเช่นเดียวกับ
ประติมากรรมและยังมีที่ว่างให้เราสามารถเข้าไปอยู่ภายในได้ (ชลูด นิ่มเสมอ. 2539: 65)
ความหมายของที่ว่าง
เมื่อพูดถึงคำว่า “ที่ว่าง” ภาพในใจจะแยกความว่างออกจากสิ่งที่มีตัวตนได้อย่าง
ชัดเจน เราสามารถรับรู้ความเป็นที่ว่างได้หลายรูปแบบ ในงานสองมิติที่ว่างอาจวัดได้จากความ
กว้างและความยาว และสามารถวัดความลึกได้ในงานสามมิติ
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับที่ว่างไว้ดังนี้
ชลูด นิ่มเสมอ (2539: 98) ให้คำจำกัดความของที่ว่างดังนี้
ที่ว่าง หมายถึง
1. ปริมาตรที่รูปทรงกินเนื้อที่อยู่
2. อากาศที่โอบรอบรูปทรง
3. ระยะห่างระหว่างรูปทรง (ช่องไฟ)
4. ปริมาตรของที่ว่างที่ถูกล้อมด้วยขอบเขต (space , volume)
5. แผ่นภาพ 2 มิติที่จิตรกรใช้เขียนรูป
6. การเขียนภาพลวงตาให้เกิดความลึกในงานทัศนศิลป์ 2 มิติ
7. ปฏิกิริยาระหว่างสีกับรูปทรงทำให้เห็นเป็นความลึกตื้นของพื้นผิว (ในงานออพ
อาร์ต)
1.1 ที่ว่างจริงและที่ว่างลวงตา ที่ว่างจริง เป็นสิ่งที่ปรากฏในความเป็นจริง
โดยมีธรรมชาติเป็นแม่บทในการศึกษาเรื่องที่ว่างได้เป็นอย่างดี ทะเลทรายมีพื้นผิวทำให้เกิด
ระนาบของที่ว่าง เนื่องจากแสงและเงาเป็นที่ว่างที่สว่างตัดกับที่ว่างในความมืด เทือกเขาที่ซ้อน
ทับกันมีความชัด ความไม่ชัดในรายละเอียด แยกความเป็นที่ว่างต่างๆ กัน หรือทะเลสีเขียวคราม
ถูกตัดด้วยสีขาวของใบเรือ เช่นนี้เป็นต้น (ทิพย์สุดา ปทุมานนท์. 2535: 56)
มนุษย์สามารถอธิบายถึงความเป็นที่ว่างของสิ่งที่มองเห็น เขาสามารถ
ตัดสินใจในเรื่องของตำแหน่ง ทิศทางและระยะของสิ่งต่างๆ ที่มองเห็นได้ด้วยการสร้าง
ความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นกับตัวเขาเองโดยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เช่น การเคลื่อนศีรษะ
เคลื่อนสายตา เคลื่อนร่างกายของเขาเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของภาพ ซึ่ง
เกิดขึ้นที่ฉากรับภาพของสายตา
ภาพที่ 5.3 ทะเลทรายซึ่งมีแสงและเงาเป็นที่ว่างที่สว่าง ตัดกับที่ว่างในความมืด
ภาพที่ 5.4 ภาพภูเขาที่มีระยะชัดตื้น แยกความเป็นที่ว่างที่ต่างกัน
8. พื้นผิว ( Texture )
หมายถึง ส่วนที่เป็นพื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เรียบ ขรุขระ หยาบ มัน นุ่ม ฯลฯ ซึ่งเราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ การนำพื้นผิวมาใช้ในงานศิลปะ จะช่วยให้เกิดความเด่นในส่วนที่สำคัญ และยังทำให้เกิดความงามสมบูรณ์
ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี 2 ประเภท คือ
1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่ มือสัมผัสเป็นกระดาษ หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อนเพื่อปะ ทับ บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่า เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตา ให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น
ผิวลักษณะต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน พื้นผิวหยาบจะ ให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร ในขณะที่ผิวเรียบ จะให้ความรู้สึกเบา สบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน เห็นได้ชัดเจน จากงานประติมากรรม และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีการรวมเอาลักษณะ ต่าง ๆ กันของพื้นผิววัสดุหลาย ๆ อย่างเช่น อิฐ ไม้ โลหะ กระจก คอนกรีต หิน ซึ่งมีความขัดแย้งกันแต่สถาปนิกได้นำมาผสมกลมกลืนได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจน เกิดความสวยงาม