ใบความรู้ "30 วิธีเพื่อให้เด็กและเยาวชนออนไลน์อย่างปลอดภัย"
��������� อินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับสังคมทั่วไปมีอันตรายมากมายแอบแฝงอยู่� สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองและครูอาจารย์เป็นห่วงที่สุดเห็นจะได้แก่� เนื้อหาที่ไม่เหมาะ
สมที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต� ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาลามกอนาจาร� เนื้อหาความรุนแรง� การพนันต่างๆ ฯลฯ� ซึ่งเด็กๆ อาจเข้าถึงได้ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม� อันตรายอีกอย่างหนึ่งคือคนที่ติดต่อด้วยบนอินเทอร์เน็ตนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีตัวตนอยู่หรือไม่เป็นคนเดียวกันกับที่ลงทะเบียน แจ้งไว้หรือไม่� สิ่งที่พูดคุยสื่อสารแลกเปลี่ยนกันบนอินเทอร์เน็ตก็ยากแก่การตรวจสอบว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จยังมีความเสี่ยงอื่นๆบนอินเทอร์เน็ต� เช่น� การติดเชื้อไวรัสคอมพิวเตอร์�� การเจาะระบบ� การสั่งซื้อสินค้าต้องห้ามโดยใช้บัตรเครดิตของผู้ปกครอง� การแอบใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่น� การละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลหรือรูปภาพตลอดจนการที่เด็กและเยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงด้านเดียว� โดยไม่คำนึงถึงการใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางเพิ่มพูนความรู้� คุ้มค่ากับเวลาและสตางค์ที่เสียไป
��������� อย่างไรก็ตาม� การปฏิบัติตัวอย่างระมัดระวังในการออนไลน์� การสอดส่องดูแลบุตรหลานและเด็กนักเรียนของผู้ปกครองและครู� จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น� ตลอดจนการบริหารที่ไม่เหมาะสมของเด็ก� ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการออนไลน์อย่างปลอดภัยของเด็กและเยาวชน ๓๐ ประการ
��������� ๑.�กำหนดแนวทางการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกับผู้ปกครองก่อนที่จะออนไลน์ ตกลงเรื่องเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละวัน� กิจกรรมออนไลน์ที่ทำได้หรือทำไม่ได้ หลังจากคุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตแล้วจึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางนี้� พิมพ์แนวทางดังกล่าวติดไว้ใกล้ๆเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเอาไว้ใช้อ้างอิงและเตือนใจขณะที่ออนไลน์
��������� ๒.�ไม่แชร์หรัสผ่าน ( password )กับใคร
��������� ๓.�ก่อนที่จะแชร์ข้อมูลส่วนตัวใดๆกับคนแปลกหน้า� ให้ขออนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน
��������� ๔.�ตรวจสอบชื่อ URL ให้แน่ใจเสียก่อนที่จะกดคีย์บอร์ด� พิมพ์ตัวสะกดให้ถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าจะเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ
��������� ๕.�ตรวจสอบกับพ่อแม่ผู้ปกครองก่อนที่จะเข้าไปยังห้องที่สนทนา� เนื่องจากห้องสนทนาแต่ละห้องมีคนต่างประเภทกันอยู่ จึงต้องแน่ใจก่อนว่าเป็นห้องที่เหมาะสมและผู้ปกครองยอมรับได้
��������� ๖.�ถ้าสิ่งที่พบเห็นหรือได้รับก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ� ให้เลิกใช้บริการนั้นเสีย� อย่าลืมแจ้งผู้ปกคอรงและครูด้วย
��������� ๗.�อย่าส่งรูปตัวเองออกไปให้ใครทางอีเมล� จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองเสียก่อน
��������� ๘.�ถ้าได้รับอีเมลข่มขู่� หยาบคาย� ก่อกวน� หรืออะไรก็ตามที่ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ� ไม่ต้องโต้ตอบแต่ให้แจ้งพ่อแม่� ผู้ปกครองหรือครู
��������� ๙.�จงจำไว้ว่าเรื่องที่ได้อ่านบนอินเทอร์เน็ตอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
��������� ๑๐.�อย่าบอกอายุจริง� จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง�� เสียก่อน
��������� ๑๑.�อย่าใช้ชื่อ - นามสกุลจริง จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง
��������� ๑๒.�อย่าบอกที่อยู่ที่บ้านให้ใครบนอินเทอร์เน็ตทราบ
��������� ๑๓.�ขออนุญาตผู้ปกครองก่อนลงชื่อในสัญญา� หรือรับข้อเสนออะไรก็ตามบนอินเทอร์เน็ต
��������� ๑๔.�อย่าให้หมายเลขบัตรเครดิตของผู้ปกครองหรือของบุคคลอื่น ก่อนที่จะได้รับอนุญาต
��������� ๑๕.�จงจำไว้ว่าเมื่อออนไลน์ทุกสิ่งที่ทำขึ้นอยู่กับตัวเราเอง� อย่าทำอะไรที่ไม่ต้องการจะทำ
��������� ๑๖.�อย่าเปิดไฟล์หรืออีเมลที่มาจากคนที่ไม่รู้จัก� เนื่องจากไม่ทราบว่ามีอะไรอยู่ภายใน� อาจเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมก็ได้
��������� ๑๗.�ตั้งคอมพิวเตอร์ในห้องนั่งเล่น ห้องรวมครอบครัวอย่าตั้งในห้องส่วนตัว
��������� ๑๘.�อย่านัดพบคนแปลกหน้าที่รู้จักบนอินเทอร์เน็ต� โดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครอง� ถ้าจำเป็นต้องนัดพบก็ให้นัดพบในที่สาธารณะและไปพร้อมกับผู้ปกครอง
��������� ๑๙.�จงจำไว้ว่าข้อมูลข่าวสารส่วนตัวที่แชร์กับคนบนอินเทอร์เน็ตอาจถูกคนอื่นล่วงรู้ได้จงระมัดระวังให้มาก
��������� ๒๐.�อย่าให้หมายเลขโทรศัพท์กับบุคคลที่ติดต่อบนอินเทอร์เน็ต
��������� ๒๑.�พูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูอย่างสม่ำเสมอถึงสถานที่ที่ไปตลอดจนกิจกรรมที่ทำและสิ่งที่พบเห็นในระหว่างการออนไลน์
��������� ๒๒.�เลือกใช้ชื่อปลอมหรือนามแฝงที่แตกต่างจากชื่อจริงในการออนไลน์
��������� ๒๓.�ก่อนที่จะเข้าไปยังพื้นที่สาธารณะบนอินเทอร์เน็ต เช่น ร่วมห้องสนทนาหรือการอภิปรายโต้ตอบ� ควรตัดสินใจร่วมกับพ่อแม่ ผู้ปกครองเสียก่อนว่าจะให้ใช้อีเมลแอดเดรสในการติดต่อร่วมกิจกรรมหรือไม่
��������� ๒๔.�ถ้าคนที่ออนไลน์ด้วยกันซักถามคำถามส่วนตัวมากๆ ให้สงสัยในแง่ร้ายไว้ก่อน และให้หยุดการสนทนานั้นเสีย
��������� ๒๕.�ระมัดระวังอย่าให้ชื่อ� ที่อยู่� เบอร์โทรศัพท์ของโรงเรียนกับคนบนอินเทอร์เน็ต
��������� ๒๖.�จงจำไว้ว่า คนที่ออนไลน์อาจไม่เป็นอย่างที่เขากล่าวอ้าง เนื่องจากการปลอมเป็นใครสักคนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต
��������� ๒๗.�ในการออนไลน์อย่าทำอะไรที่เข้าไม่คิดว่าจะไม่ทำในชีวิต
��������� ๒๘.�ระมัดระวังเรื่องข้อเสนอฟรี เช่น ของขวัญหรือเงิน เพราะไม่มีทางทราบได้ว่าสิ่งจูงใจหรืออะไร จงปฏิเสธและอย่าลืมบอกพ่อแม่ผู้ปกครอง
��������� ๒๙.�จงปฏิบัติต่อคนอื่นในสิ่งที่อยากให้ตัวเองปฏิบัติตอบ อย่าใช้เวลาแย่ๆ หรือส่งอะไรที่ไม่เหมาะสมออกไปในการออนไลน์
��������� ๓๐.�ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ถ้าไม่ต้องการ ปุ่ม disconnect มีอยู่เสมอต้องการใช้เมื่อไรก็กดได้เสมอ
ข้อมูลจาก www.thaiparents.net